ใน Genshin Impact นั้น Artifact นั้นก็เหมือนกับอุปกรณ์สวมใส่ที่จะช่วยเพิ่มควมสามารถของตัวละครต่างๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้การเลือกใช้ Artifact ให้เข้ากับตัวละครหรือแนวทางการเล่นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างมาก ในการทำให้ตัวละครนั้นสามารถเล่นได้ตามแนวที่ต้องการหรือออกมาดีที่สุดนั่นเอง ในบทความนี้ก็จะมาพูดถึงหลักการในการเลือกใช้ Artifact ให้เข้ากับตัวละครและบทบาทต่างๆ นั่นเอง
เข้าใจกับบทบาทของตัวละครคร่าวๆ
ในขณะที่เกือบทุกตัวละครในเกมนั้นมีหน้าที่ในการทำความเสียหายเป็นหลัก (และบางคนช่วยฮีล) แต่ทั้งนี้ ด้วยข้อจำกัดทางทรัพยากรในการอัพเลเวลตัวละคร รวมถึง ลักษณะของสกิลและความสามารถในการต่อสู้ ทำให้เราแบ่งบทบาทของตัวละครต่างๆ ออกได้เป็นหมวดย่อยๆ ดังนี้
DPS – เป็นหน่วยที่จะทำความเสียหายเป็นหลัก รีดความเสียหายได้ต่อเนื่องและรวดเร็ว ตัวละครกลุ่มนี้มักจะมีสกิลที่สนับสนุนการโจมตีปกติให้ดีขึ้น
Support – เป็นหน่วยที่จะช่วยในการสร้างธาตุที่ตัวศัตรู (setup) เพื่อใช้ในการปิดคอมโบการผสมธาตุจากตัวอื่น จะเป็น support อีกคนหนึ่งหรือของตัว DPS หลักก็ได้
Nuker – ความสามารถของตัวละครกลุ่มนี้คือมีสกิลที่รุนแรงมาก มีลักษณะลูกผสมระหว่างของ Support และ DPS กล่าวคือ support จะสนับสนุนธาตุดีกว่า และ DPS ทำความเสียหายต่อเนื่องกว่า Nuker จะอาศัยการ setup จากตัวละครอื่นและโดดเข้ามากดสกิลเป้งเดียวแรงๆ แล้วโดดหนีกลับไป รอ Energy / Cooldown กลับมาอีกทีค่อยโดดมาใหม่นั่นเอง
Healer – ตัวละครกลุ่มนี้หน้าที่หลักจะช่วยฟื้นฟูพลังชีวิตให้กับคนอื่นในปาร์ตี้ให้สามารถเอาตัวรอดได้นานๆ
เมื่อเพื่อนๆ เข้าใจบทบาทแล้วนั้น ก็จะทำให้สามารถเข้าใจหลักการเลือกตัว Artifact เซ็ทต่างๆ ได้ดีขึ้นไปด้วย ดังนั้นก็จะมาว่ากันด้วย วิธีการเลือก Artifact กันต่อเลย
การเลือก Artifact มาใช้งาน
เพื่อนๆ น่าจะพอทราบกันแล้วผ่านทางบทความ [ Artifact ] ว่าตัวไอเทมเหล่านี้จะมีผลโบนัสเซ็ทของมันในรูปแบบ 2 ชิ้นและ 4 ชิ้น บางอย่างก็แลดูดี บางอย่างก็ดูไม่น่าไปได้กับบางตัวละคร ดังนั้นจึงมีหลักการเลือกใช้พวก Artifact ต่างๆ อยู่
หลักในการเลือกตัว Artifact มาใช้งานนั้น นอกจากจะดูในแง่ของผลเซ็ทแล้ว ค่าสเตตัสหลักก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ต่อการพัฒนาตัวละครของเพื่อนๆ ด้วย การได้ตัวเซ็ทดีๆ แต่ค่าที่ได้ไม่ช่วยพัฒนาตัวละครเท่าไหร่ ผลที่ได้ก็มักจะออกมาแย่กว่าการใส่จับฉ่ายแต่สเตตัสตรงเป๊ะ
ในการเลือกใช้นั้น จะขอแบ่งเป็นช่วงเวลาในการเล่นก่อนอันดับแรก
► ช่วงต้นเกม
ช่วงต้นเกมคือช่วงเริ่มเล่นจนถึงราวๆระดับนักผจญภัย 25 นั้น เป็นช่วงที่เพื่อนๆ จะหา Artifact ดีๆ ยาก และมักจะต้องใช้ตามมีตามเกิดเสียก่อน ดังนั้นในจุดนี้ เพื่อนๆ จะมีตัวเลือกจาก Artifact ชุดที่หาได้ง่ายผุดๆ อย่างเช่น Adventurer, Berserker, Instructor พวกนี้กันก่อน (หยุด อย่าพึ่งหวังเซ็ทดีๆ อย่าง Gladiator เลย มันไม่ drop มาให้เพื่อนๆ ในช่วงนี้หรอก)
ช่วงนี้ เพื่อนๆ ให้เลือกใช้งานเป็น Adventurer (เอาตัวรอด) + Berserker (เน้นตีปกติ) หรือ Instructor (ผสมธาตุ) อย่างละสองชิ้น โดยขึ้นกับว่าเป็นตัวที่เล่นกับธาตุเป็นหลักหรือโจมตีปกติเป็นหลัก ตัวเซ็ท Adventurer ในช่วงแรกนั้นช่วยเพิ่มค่าพลังชีวิตถึง 1,000 หน่วยซึ่งเยอะมากในช่วงที่ตัวละครพึ่งมีเลเวลน้อยๆ แถว 1-40 (เลเวลตัวละครนะไม่ใช่นักผจญภัย) ทำให้เพื่อนๆ รอดจากพวกมินิบอสหรือบอสได้ง่ายขึ้น จนเมื่อเลเวลสูงกว่านั้นแล้ว ไอ้ 1,000 หน่วยก็จะเริ่มไม่สำคัญแล้วล่ะ
ด้วยความที่ตัวเซ็ทไม่มีให้เลือกมากนัก ให้เพื่อนๆ มุ่งความสนใจไปที่ค่าสเตตัสหลัก หากทำได้ให้เลือกพลังโจมตีมาก่อนเสมอ และตีบวกให้เป็น +4 จะช่วยเพิ่มความสามารถในการต่อสู้ได้ดีมาก วิธีนี้จะดีกว่าการไปนั่งเสียเวลาเลือกผลเซ็ทเฉพาะอย่างที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม เพื่อนๆ ควรจะหาอย่างน้อยเป็นระดับ 3 ดาวไว้ด้วย เนื่องจากมีค่าเริ่มต้นของค่าสเตตัสที่ดีกว่า
► ช่วงกลางเกม
ในตอนนี้เพื่อนๆ จะมีระดับนักผจญภัยแถวๆ 25-34 ซึ่งจะเริ่มมี Artifact เซ็ทต่างๆ ปรากฎตัวออกมามากขึ้นบ้างแล้ว แม้จะยังไม่เกลื่อนกลาดก็ตาม ทำให้เพื่อนๆ มีตัวเลือกมากขึ้นเยอะและเริ่มเน้นไปยังชุดที่ใกล้เคียงกับที่ต้องการได้แล้ว
แต่นั่นคือกับดัก!!! การพยายามฟาร์มหาเซ็ทที่เพื่อนๆ ต้องการในตอนนี้นั้นเป็นอะไรที่สิ้นเปลือง Resin ที่มีจำกัดจำเขี่ยเป็นอย่างมาก (แต่ถ้ามัน drop มาจากบอสที่เพื่อนๆ ต้องล่าหาของมาเลื่อนระดับอยู่แล้วก็ไม่เป็นไร คุ้มอยู่) เนื่องจากในช่วงท้ายเกมก็จะต้องฟาร์มหามันอีก … ในระดับที่บ้าคลั่งกว่าเดิมด้วย เพราะมีเรื่องของดวงมาสุ่มค่าสเตตัสและตัวชุดอื่นๆ นั่นแหละ จึงไม่แนะนำให้เพื่อนๆ ฟาร์ม Artifact ในตอนนี้ ยอมอดทนอีกซักนิดจะคุ้มกว่ามาก
ในช่วงนี้ ถ้าเพื่อนๆ หาผลเซ็ทที่ใกล้เคียงกับแนวทางของตัวละครได้ก็โชคดีไป แต่การเน้นไปที่เซ็ท 2 ชิ้นผสมกัน และดูค่าสเตตัสหลักให้ตรงกับแนวที่อยากเล่นนั้นจะดีกว่าอยู่ดี รวมไปถึงช่วงนี้ เพื่อนๆ ควรเริ่มตี +4 +8 ได้แล้วล่ะ ยิ่งถ้าเป็นส่วนขนนกที่การันตีค่าพลังโจมตีเป็นหน่วย +12 ไปเลยยังได้ ถ้าสี่ดาวเซ็ทที่ชอบใจพอดี +16 เลยก็ยังไหว (เอาไปย่อยให้กินทีหลังก็ขาดทุนไม่มาก)
- DPS – เน้นผลพลังโจมตี, คริติคอลเป็นหลัก เนื่องจากตัวละครกลุ่มนี้จะโจมตีปกติรัวๆ ตลอดเวลา
- Nuker – ให้เน้นความชำนาญธาตุเป็นหลัก หรือจะเป็นพลังโจมตีก็ได้ แต่ไม่ควรใช้ Artifact ที่มีผลเกี่ยวข้องกับการกดโจมตีปกติเท่าไหร่นักเพราะใช้สกิลหากิน/สลับตัววนสกิลมากกว่าไล่ตีเรื่อยเปื่อย
- Support – จะเน้นพลังโจมตี, ความชำนาญธาตุ(ถ้าอัพเลเวลมาสูงๆ) หรือจะเน้นฟื้นฟูพลังงาน เพื่อเร่งเกจไม้ตายก็ได้ ขึ้นกับว่าเพื่อนๆ จะใช้ Support ตัวนั้นทางไหน เช่นเอามากดสกิลปกติ หรือเอามากดไม้ตายเป็นหลัก
- Healer – เลือกผลพลังโจมตีเป็นหลักเพื่อมาช่วยตีแรงขึ้นระหว่างฮีล ยกเว้น Barbara ที่ต้องเลือกค่าสเตตัสหลักเป็นเลือด หรือ Noelle ที่ใช้พลังป้องกันเป็นหลัก
Artifact ช่วงท้ายเกม
ขอต้อนรับเพื่อนๆ เข้าสู่โรงเกลือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่ง Teyvat ที่ซึ่งเพื่อนๆ จะได้ชีช้ำกระหล่ำปลีจากการตามหา Artifact เซ็ทที่ใช้ และค่าสเตตัสที่ต้องการ แต่ดวงก็คือดวง มันอาจจะออกในการลง Domain ครั้งแรก หรือเกลือกว่ากาชา 0.6% ก็ได้
ในช่วงท้ายเกมตอนระดับนักผจญภัย 35 ขึ้นไปนี้ เพื่อนๆ จะได้เริ่มหาพวก Artifact Set ที่ใช้คนที่ชอบกันจริงๆ จังๆ แล้ว บางคนอาจจะรอให้ 40 ก่อนก็ได้ เนื่องจากจะมีโอกาสได้แบบ 5 ดาวที่เป็นระดับที่สูงที่สุดแล้ว ขึ้นกับความอดทนรอ (… เอาจริงๆ ก็ไม่ต้องถึงกับทนรอหรอก แค่ไม่ต้องเผา Resin ในการพยายามหาเซ็ทที่ต้องการอย่างบ้าคลั่งก่อน 40 ก็พอ) ทั้งนี้เพื่อมาอัพเกรดให้ตัวละครสามารถลุยกับเหล่าศัตรูที่อึดขึ้นอย่างชัดเจนได้
ในจุดนี้ เพื่อนจะได้เจอ Artifact ครบทุกเซ็ทในเกมแล้วตามเวรตามกรรมในการดรอปลงมา ทำให้ตัวเลือกนั้นค่อนข้างเปิดกว้างมากๆ และมีวิธีการเลือกที่”โคตร”เยอะ ในขณะที่แนวทางแบบ Meta ก็มี แต่แนวทางที่เล่นให้ตัวเองชอบใจก็มีเช่นกัน จึงขึ้นกับ play style แต่ละคน และตรงนี้ก็จะช่วยแนะนำแนวทางให้ได้มากกว่าจะจับมือชี้ว่าอะไรดีไม่ดีกันไป
► ตัวละคร DPS
เช่นเดียวกับ DPS ก่อนหน้านี้ เพื่อนๆ จะเลือกใช้ชุดที่มีผลเซ็ทเพิ่มความเสียหายของการโจมตีเป็นหลัก ไม่ใช่เพิ่มพลังโจมตีเปล่าๆ ทั้งตัว ด้วยเหตุผลคือการที่มีตัวคูณที่ต่างกัน ทำให้ลำดับการคำนวนนั้นต่างกันไปด้วย การเพิ่มพลังโจมตีนั้นจะนำไปบวกกันทั้งหมดเป็นค่าเดียว ส่วนการเพิ่มความเสียหายนั้น จะถูกนำไปคูณแยกต่างหากอีกทีหนึ่ง ทำให้มันแรงกว่าแบบชัดเจนมาก
ชุดที่น่าสนใจจึงเป็น Gladiator’s Finale หรือ Martial Artist นั่นเอง ถ้าเพื่อนๆ มีค่า CRIT DMG สูงมาก ตัวเลือกพื้นฐานอย่าง Berserker เองก็ยังน่าสนใจด้วยซ้ำ แค่ต้องเลี้ยงเลือดดีๆ หน่อย
ทั้งนี้เพื่อนๆ ก็ต้องดูด้วยนะว่าตัวละครของเพื่อนๆ นั้นสกิลกับไม้ตายเกี่ยวข้องกับธาตุ มีการปรับเปลี่ยนอย่างไรบ้าง เนื่องจากหากทำให้การโจมตีปกติกลายเป็นธาตุหรือเน้นธาตุเยอะมาก เซ็ทที่มีผลของพลังธาตุจะโดดเด่นขึ้นมามากกว่าเซ็ทกายภาพค่อนข้างชัดเจน
► ตัวละคร Nuker
ตัวละครกลุ่มนี้จะเล่นกับการผสมธาตุเป็นหลัก ชุดที่มีปฎิกิริยาธาตุเยอะๆ จึงเป็นอะไรที่ค่อนข้างว้าวมาก เนื่องจากเพิ่มผลของปฎิกิริยาได้โดยตรง แต่!!! ปฎิกิริยาธาตุจะแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่เป็นค่าตายตัวจะเป็นอะไรที่ได้ที่ไม่ใช่ ละลายและระเหย จะขอเรียกว่ากลุ่ม A ส่วนกลุ่ม B นั้นจะเป็นการละลายและระเหย
ต่างกันยังไง? กลุ่ม A ความแรงจะขึ้นกับเลเวลตัวละครและความชำนาญธาตุเท่านั้น ส่วนกลุ่ม B จะขึ้นกับพลังโจมตีและความชำนาญธาตุ… นั่นหมายถึงต่อให้มีพลังโจมตีมากกว่า 9000 กลุ่ม A ก็จะทำความเสียหายจากการผสมธาตุเท่าพลังโจมตี 90 นั่นเอง …. ส่วนกลุ่ม B ก็น่าจะทำบอสหายไปจากเกมเลยอ่ะนะ
ดังนั้น เพื่อนๆ ควรจะดูว่าตัว Nuker ของเพื่อนๆ นั้นเป็นการทำความเสียหายกลุ่มไหนจากการผสมกับตัวละครอื่นในปาร์ตี้นั่นเอง จากนั้นค่อยเลือกตัว Artifact ให้เข้ากัน แน่นอนว่าบางทีก็เลือกทางตรงกว่าอย่างเช่นเซ็ทที่เล่นกับธาตุนั้นๆ ตรงๆ ไปเลยอย่าง Crimson Witch of Flames สำหรับธาตุไฟ หรือ Thundering Fury สำหรับสายฟ้า
อย่างไรก็ดี ในเซ็ทที่เพิ่มพลังป้องกันธาตุอย่าง Lavawalker นั้นอาจจะไม่แนะนำเท่าไหร่ แม้ว่าตัวเลขการเพิ่มความเสียหายจะเยอะกว่า (30 กับ 35) แต่ชุดที่เพิ่มพลังธาตุนั้นๆ โดยตรงมีเงื่อนไขที่น้อยกว่าสะดวกกว่านั่นเอง แถมยังมี effect เดิ้ลๆ แถมมาด้วยแลกกับ 5% ที่หายไปนั่นแล แต่ถ้าเพื่อนๆ ไม่ติดขัดอะไรก็สามารถลองได้
► ตัวละคร Support
เหมือน Nuker จบ … ก็แย่แล้ว ตัวละครกลุ่มนี้มักจะมีเรื่องของการวนใช้สกิล, ท่าไม้ตายมาเกี่ยวข้อง ทำให้มี Artifact ชุดที่เกี่ยวกับท่าไม้ตายมาเกาะแกะมากกว่าสาย Nuker เสียอีก การเลือกเซ็ทของตัวละครเหล่านี้จึงมีลักษณะว่า เพื่อนๆ อยากใช้แค่มาแปะธาตุใส่ศัตรูสร้างจังหวะ หรือมากดไม้ตายเป็นหลัก หรือมาช่วยทำความเสียหายไปในตัวจากพวกการผสมธาตุเวลาว่างๆ (เป็น Nuker/Burst DMG กลายๆ)
แน่นอนว่าต้องขอให้เพื่อนๆ หยุดคิดว่าจะให้ Support ของเพื่อนๆ เป็น All-in-one ทำ dmg เริ่ดไม้ตายไว้สกิลบูสต่างๆ มันไม่มีเซ็ทครอบจักรวาลขนาดนั้น (ในเวลานี้ … ใกล้เคียงสุดน่าจะเป็นเซ็ทของธาตุลมอ่ะนะ) ดังนั้นเพื่อนๆ ควรจะโฟกัสไปที่การจัดหาเซ็ทที่ตรงกับลักษณะการใช้งานของเพื่อนๆ มากกว่า
เช่น The Exile นั้นเน้นไปทางชาร์จท่าไม้ตายไว ทั้งตัวเองและเพื่อนร่วมทีม ในขณะที่ Scholar จะช่วงเร่งได้ไวกว่า แต่จำกัดว่าต้องใช้ธนูหรือสื่อเวทย์เท่านั้นที่จะไวขึ้น ตัวเซ็ทอย่าง Nobeless Oblige นั้นก็เป็นลูกผสมที่ช่วยเพิ่มความแรงของไม้ตาย และบัพเพื่อร่วมทีมได้ด้วย (เพิ่มพลังโจมตี = มีผลเหมือนพวกเซ็ทสองชิ้นที่เพิ่มพลังโจมตีเลย)
หากเพื่อนๆ จะเน้นไปในทางด้านการทำ Dmg สนับสนุนไปพร้อมกัน มักจะต้องเสียผลของการผสมธาตุไปกับตัว Support ด้วยกันเอง อาจจะต้องมีการจัดเปลี่ยนเซ็ทของสาย DPS ให้เข้ากันมากขึ้นไปด้วย ซึ่งถ้ามาทางนี้ พวกเซ็ทเน้นพลังธาตุเฉพาะทาง หรือที่มีการเสริมความชำนาญธาตุก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน (ทีมที่เน้นตัวละครสายผสมธาตุเนี่ย ชุด Instructor นี่ก็ถือว่าไม่เบาเลยล่ะ)
► ตัวละคร Healer
กลุ่มนี้ค่อนข้างจะเลือก Artifact ได้สบายใจสุด เนื่องจากในตอนนี้มีเพียงชุดเดียวเท่านั้นที่มีผลเซ็ทสนับสนุนการฮีลโดยตรง ทำให้ฮีลได้แรงขึ้น อย่างไรก็ดี ด้วยเงื่อนไขการฮีลที่แตกต่างกันเช่นจากค่า HP, พลังโจมตี หรือพลังป้องกัน ก็ทำให้มีตัวเลือกของค่าสเตตัสหลักเพิ่มเติมกันไปในแต่ละคน
ถ้าเพื่อนๆ เลือกเซ็ทที่เน้นฮีลไปเลย ก็จะได้ตัวละครสายฮีลที่ฮีลได้มีประสิทธิภาพมากกว่า เสียเวลากับการฮีลน้อยลง แต่ในทางกลับกัน ถ้าเน้นไปทางเซ็ทที่สนับสนุนด้านการบัพคนอื่นในปาร์ตี้ ก็จะได้อีกลักษณะการเล่นที่แม้จะฮีลไม่แรงเท่า แต่แค่ออกมาเต้นด้องแด้งกดไม้ตายหรือสกิล ก็มีผลกับคนอื่นในทีมแล้ว ไม่ได้เป็นแค่ถังเติมเลือด (แต่บางทีไม่ใช่ถังเติมเลือดก็เอาไม่อยู่ ฮา)
Artifact ในกลุ่มนี้ก็จะมี Maiden Beloved สำหรับการฮีล, Exile / Scholar / Noblesse Oblige ที่ช่วยในการสนับสนุน (แม้กระทั่ง Instructor) หรือถ้าไปทางเฉพาะทางขึ้นอย่าง Archaic Petra สำหรับธาตุดิน และ Viridescent Venerer สำหรับธาตุลมก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนุกไม่แพ้กัน
► ค่าสเตตัสหลัก
ยังไม่จบกันง่ายๆ ในช่วงท้ายเกมนี้จะเป็นช่วงเพื่อนๆ จะได้ปวดหัวกับการตามหาค่าสเตตัสหลักอย่างแน่นอน ซึ่งไอ้เจ้า Artifact แต่ละชิ้นก็จะมีการสุ่มค่าสเตตัสหลักที่ไม่เหมือนกัน นอกจากจะเลือกเซ็ทที่ต้องการแล้วนั้น การผสมค่าสเตตัสหลักหรือเลือกให้ถูกในแต่ละชิ้น จะช่วยให้เพื่อนๆ ดึงความสามารถออกมาได้สูงขึ้น ตรงตามที่ต้องการมากขึ้นมาก
ทั้งนี้ทั้งนั้น บางทีผลเซ็ทอาจจะไม่ครอบคลุมพอ เพื่อนๆ ก็ยังพอจะผสมค่าสเตตัสมาเสริมกันไปได้ด้วย โดยมากนั้นเพื่อนๆ มักจะได้เลือกค่าพลังโจมตีเป็น % กัน 2 ส่วน ตามด้วยอะไรอย่างหนึ่งที่แยกกันไปในแต่ละชิ้น เช่นผลฮีล, โอกาสคริ, ความชำนาญธาตุ, การฟื้นฟูพลังงาน, โบนัสความเสียหายชนิดใดชนิดหนึ่งทำนองนี้
บางตัวละครอาจจะใช้อย่างอื่น เช่น Barbara สายฮีลที่เน้นค่าพลังชีวิตเป็นหลัก
ค่าสเตตัสหลัก | Flower of Life | Plume of Death | Sands of Eon | Goblet of Eonothem | Circlet of Logos |
---|---|---|---|---|---|
HP | X | ||||
ATK | X | ||||
Base HP% | X | X | X | ||
Base ATK% | X | X | X | ||
Base DEF% | X | X | X | ||
Elemental Mastery | X | X | X | ||
Energy Recharge% | X | ||||
Cryo DMG Bonus% | X | ||||
Anemo DMG Bonus% | X | ||||
Hydro DMG Bonus% | X | ||||
Geo DMG Bonus% | X | ||||
Pyro DMG Bonus% | X | ||||
Electro DMG Bonus% | X | ||||
Physical DMG Bonus% | X | ||||
CRIT DMG% | X | ||||
CRIT Rate% | X | ||||
Healing Bonus% | X |
จากตารางนี้ ก็ต้องเช็คกันดีๆ ว่าชิ้นไหนมีโอกาสได้ค่าสเตตัสหลักอะไรบ้าง จะได้ไม่เสียเวลาหาจนเกินไปหรือเลือกผิดค่าในคนละชิ้นส่วนกัน (เช่นนอกจากส่วน Sands of Eon แล้วไม่มีชิ้นไหนที่จะสามารถมีฟื้นฟูพลังงานได้เป็นต้น)
เพื่อนๆ จะเลือกเน้นไปทางของเดิมเน้นๆ เข้ากับเซ็ท หรือจะเลือกกลบจุดอ่อนที่ขาดไปของเซ็ทนั้นๆ ก็ได้ แม้ว่าในขณะที่ค่าสเตตัสหลักนี้ เมื่ออัพเลเวลแล้วจะได้ผลเยอะกว่าผลของโบนัสเซ็ท (เช่นโบนัสเซ็ทสองชิ้นพลังโจมตี +18% แต่ไอ้ Artifact ชิ้นนึงเดี่ยวๆ อัพตันได้พลังโจมตี +30% เงี้ย…) แต่การเอามารวมกันมันก็ช่วยเกื้อหนุนกันได้ ทำให้แม้ชุดที่เน้นพลังธาตุแต่ขาดฟื้นฟูพลังงาน ก็ยังเลือกให้มีค่าสเตตัสหลักเป็นฟื้นฟูพลังงานมาเร่งให้ไม้ตายไวขึ้นได้เช่นกัน
ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้หลักๆ แล้วนั้นเพื่อนๆ มักจะได้เลือกเซ็ท 4 ชิ้นมากกว่า เพราะมีคุณสมบัติที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า และการผสมเซ็ท 2 ชิ้นด้วยกันที่มันก็เหมือนกับได้แค่ค่าสเตตัสหลักแบบครึ่งๆ กลางๆ มาเฉยๆ
สุดท้ายนี้แม้ว่าตัวบทความนี้จะไม่ได้ชี้เป้าว่าตัวละครไหนควรจัด Artifact แบบใดสำหรับคนที่ต้องการให้ระบุโดยตรง แต่น่าจะเป็นแนวทางให้เพื่อนๆ ได้ลองอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ให้เข้ากับแนวการเล่นของตัวเองได้มากขึ้น ในเมื่อเกนชินเป็นเกมที่เน้นให้ได้ออกสำรวจโลกกว้าง การได้ลองคอมโบอะไรแปลกๆ ก็อาจจะทำให้เพื่อนๆ สนุกไม่แพ้ความ Meta ก็เป็นได้นะ?
อะไรนะ? อยากได้ guide ชัดๆ งั้นหรือ? ….. ลองดูกันได้นะเอ้อ [ แนวทางการเลือก Artifact ของแต่ละตัวละคร ]
จบบทความนี้กันไปเรียบร้อยแล้ว หวังว่าไกด์ชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ นะ! ถ้าชอบก็มาติดตามกลุ่มของเราได้ที่